ปิยมิตร ลีลาธรรม
ความพ่ายแพ้ของกลุ่มการเมืองปีกซ้ายต่อการชิงชัยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อกลางปี ค.ศ.2007 ทำให้กลุ่มปีกซ้ายปฏิวัติอย่างพรรคสันนิบาตคอมมิวนิสต์ปฏิวัติ (Ligue communiste révolutionnaire : LCR) สรุปบทเรียนสำคัญว่าจะต้องสร้างการรวมตัวของพันธมิตรที่ต่อต้านทุนนิยมอย่างกว้างขวางเพื่อนำมวลชนเข้าต่อสู้กับรัฐบาลของประธานาธิบดีซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) ที่ชนะการเลือกตั้ง
ถัดมาในปลายปีเดียวกัน เกิดการนัดหยุดงานครั้งสำคัญที่เขย่ารัฐบาลซาร์โกซีจนถอยร่นไปพร้อมกับนโยบายเสรีนิยมที่รัฐบาลพยายามจะผลักดัน จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2008 พรรค LCR เรียกร้องการรวมตัวจัดตั้งพรรคต่อต้านทุนนิยมขึ้นเพื่อรวบรวมกำลังผู้ต่อต้านรัฐบาลซาร์โกซีเข้าไว้ด้วยกัน ก้าวสำคัญนี้ทำให้ประเด็นการสร้างพรรคและนโยบายการรวมกำลังแนวร่วมเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้สำหรับขบวนการภาคประชาชนของสังคมไทยที่ต้องเผชิญกับการกลับมาของพรรคไทยรักไทยในรูปการจัดตั้งใหม่เป็นพรรคพลังประชาชนที่ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา รัฐบาลสมัครที่เป็นนอมินีของอดีตนายกฯ ทักษิณและอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยอยู่ในขณะนี้
สถานการณ์สร้างพรรค
บทเรียนจากความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งของพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสชี้ให้ LCR เห็นว่ามีผู้คนจำนวนมากต่อต้านซาร์โกซีและออกไปใช้สิทธิ์เลือกพรรคที่เลวน้อยกว่าอย่างพรรคสังคมนิยม (Parti socialiste) ทำให้ซาร์โกซีชนะการเลือกตั้งรอบสุดท้ายเหนือพรรคสังคมนิยมด้วยคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 53.06 และยังแสดงให้เห็นแนวโน้มที่การเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลซาร์โกซีกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากรัฐบาลนี้มาพร้อมกับหลักนโยบายของ MEDEF (Mouvement des entreprises de France) องค์การนายจ้างที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส
การเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลซาร์โกซีกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ LCR คาดการณ์ไว้นั้นปรากฏเป็นจริง การนัดหยุดงานเพื่อต่อต้านนโยบายเสรีนิยมใหม่โดยเฉพาะ แผนการตัดทอนบำเหน็จบำนาญของรัฐบาลซาร์โกซีในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 นั้น กล่าวได้ว่ายิ่งใหญ่พอๆ กับเมื่อคราวปี 1995 เลยทีเดียว โดยมีผู้เข้าร่วมสำแดงพลังรวมถึง 7 แสนคน ในการประท้วง 148 แห่งทั่วประเทศ เช่น 70,000 คนที่ปารีส 60,000 คนที่มาร์แซย์ 35,000 คนที่ตูลูส 30,000 คนที่บอร์โดซ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวอื่นที่สำคัญ ได้แก่ การนัดหยุดงานที่เขตอุตสาหกรรม Yoplait ภายใต้การนำของสมาพันธ์แรงงานระดับชาติอย่าง CGT (Confédération générale du travail) เพื่อเรียกร้องให้เปิดการเจรจาต่อรองเรื่องค่าจ้างและปัญหาค่าครองชีพ การเดินขบวนประท้วงของนักเรียนและนิสิตนักศึกษาประมาณ 40,000 คน เพื่อสนับสนุนการประท้วงของคนงานรัฐวิสาหกิจและเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายที่จะทำให้สถานศึกษากลายเป็นแหล่งธุรกิจ การเข้าร่วมประท้วงของครูในวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด โอลิวีเย เบซองซีโนต (Olivier Besancenot) ผู้นำของ LCR ประเมินการสำแดงพลังครั้งนี้ว่า เป็นการรวมพลังต่อสู้ที่กดดันอย่างไม่หยุดยั้ง จนกว่ารัฐบาลต้องตอบสนองตามที่ผู้ประท้วงเรียกร้อง เช่นเดียวกับการประท้วงของคนงานรัฐวิสาหกิจในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1995 [1]
สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า มวลชนคนงานฝรั่งเศสยังคงมีพลังต่อต้านนโยบายเสรีนิยมใหม่ของซาร์โกซีและเป็นฐานมวลชนที่ต้องการการจัดตั้งรวมกำลังต่อสู้อย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น ฉะนั้น เพื่อช่วงชิงมวลชนให้ตีตัวออกจากความนิยมในพรรคสังคมนิยมซึ่งเป็นพรรคที่ปลิ้นปล้อนทางการเมืองและฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย”และ “ขวา” เพียงเพื่อให้พรรคได้ร่วมรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลทางการเมืองในระบบเลือกตั้งอย่างสำคัญ พร้อมๆ ไปกับการต่อต้านรัฐบาลซาร์โกซีจำเป็นต้องมีพรรคการเมืองที่คอยเกื้อหนุนการเคลื่อนไหวนั้น โดยเป็นพรรคต่อต้านทุนนิยมที่เปิดกว้างและมีหลักนโยบายที่เป็นตัวของตัวเองต่างไปจากพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส
ขณะเดียวกัน เมื่อเทียบกับบรรดาพรรคปีกซ้ายอื่นๆ นอกจากพรรคสังคมนิยมด้วยกันแล้ว พรรค LCR ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้งรอบแรก คือร้อยละ 4.08 ซึ่งสูงกว่าคะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สนับสนุนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (Parti communiste français: PCF) ถึงสองเท่า สิ่งนี้สะท้อนการพัฒนาของพรรค LCR ที่มาถึงขั้นตอนสำคัญในการขยายการจัดตั้งองค์กร และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความปั่นป่วนและความแตกต่างทางความคิดของกลุ่มการเมืองปีกซ้ายและกลุ่มต่างๆ ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมภายหลังการเลือกตั้ง อันเรียกร้องการแก้ไขให้กลับมาสู่การรวมกำลังแนวร่วมเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลซาร์โกซีด้วยเค้าโครงการหรือหลักนโยบายที่ต่อต้านทุนนิยม
สิ่งนี้จึงเป็นที่มาของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17 ของ LCR เมื่อวันที่ 24-27 มกราคม 2008 ตัวแทนสมาชิกพรรคจำนวน 313 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อประเมินผลการทำงานของกลุ่มและสถานการณ์ทางการเมือง ประเด็นสำคัญที่ที่ประชุมหารือกันอย่างกว้างขวางก็คือ โครงการจัดตั้งพรรคต่อต้านทุนนิยม โดยแม้จะยังมีประเด็นการประเมินหลายแง่มุม เช่น คำนิยามของ “พรรคต่อต้านทุนนิยม” ขอบเขตการดำเนินงานทางการเมืองที่จำเป็น วิธีการบรรลุถึงสิ่งนี้ การแสวงหากลุ่มการเมืองอื่นที่มีศักยภาพมาเข้าร่วม ระยะเวลาที่จะปฏิบัติให้เกิดผล เป็นต้น สุดท้ายที่ประชุมก็เห็นชอบที่จะดำเนินการจัดตั้งพรรคนี้ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 81.2 ขณะที่มีเสียงค้านร้อยละ 14.8 และงดออกเสียงร้อยละ 4 ของผู้แทนทั้งหมด
สาระสำคัญของเสียงส่วนใหญ่ปรากฏในแถลงการณ์ว่าด้วยพรรคต่อต้านทุนนิยม ซึ่งมีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้คือ พรรคนี้จะเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวรวมตัวของมวลชนคนงานเพื่อต่อสู้เปลี่ยนแปลงดุลอำนาจ โดยช่วยตระเตรียมการอภิวัฒน์สังคมอย่างถึงรากถึงโคน นั่นคือ ยุติระบบทุนนิยมกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในปัจจัยการผลิต และการทำลายโลกและธรรมชาติ แล้วแทนที่ด้วยระบบสังคมที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ ขจัดการกดขี่ขูดรีดทุกรูปแบบที่ตั้งอยู่บนเงื่อนไขได้เปรียบเชิงชนชั้น เพศ หรือเผ่าพันธุ์ สังคมที่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้หยุดอยู่แค่การเลือกตั้ง หากแต่ทุกคนต้องสามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ
ยิ่งไปกว่านั้น พรรคนี้ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับระบบทุนนิยม โดยเป็นพรรคอิสระเป็นตัวของตัวเองที่แตกหักกับทุนนิยมและสถาบันการปกครองของระบบนี้ และสนับสนุนให้ประชาชนนำการเคลื่อนไหวของตนเองในฐานะผู้ที่จะเข้าไปบริหารสังคมและเศรษฐกิจ นั่นคือ การสร้างพรรคเพื่อช่วยก่อให้เกิดแนวทาง “สังคมนิยมของศตวรรษที่ 21″
พรรคนี้จะสามัคคีผู้คนทุกคนที่ต่อต้านทุนนิยมมาเข้าร่วม โดยเชิญชวนมวลชนไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงาน โรงเรียน ชุมชน องค์กรระดับภูมิภาคและระดับชาติ มาจัดตั้งเป็นคณะกรรมการปฏิบัติการเพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างพรรค เช่น การร่างธรรมนูญของพรรค การร่างหลักนโยบาย การจัดประชุมระดับท้องถิ่นระดับชาติ และระดับประเทศ เพื่อเตรียมการจัดประชุมใหญ่ก่อตั้งพรรคต่อไป
ทิศทางการสร้างพรรคต่อต้านทุนนิยมดังกล่าวเริ่มต้นจากการเปิดกว้างรับผู้คนร่วมสร้างพรรคที่หลากหลาย บนเป้าหมายเดียวกันคือการต่อต้านรัฐบาลซาร์โกซี และนำพามวลชนไปร่วมเรียนรู้ถึงปัญหาและทางออกท่ามกลางการเคลื่อนไหวทางสังคมในสถานการณ์ต่างๆ แล้วยกระดับไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงในความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงระบบทุนนิยมเพื่อรักษาโลกนี้ไว้ จากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย มีขั้นตอนการพัฒนาของพรรคและการเคลื่อนไหวทางสังคมตรงประเด็นสำคัญที่ว่า พรรคและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมจักต้องสะสมชัยชนะ และได้รับการยอมรับนับถือของมวลชนอย่างกว้างขวางในหลักนโยบายเปลี่ยนแปลงสังคม โดยอาศัยแนวร่วมกลุ่มต่างๆ อย่างหลากหลายที่ร่วมกันต่อต้านทุนนิยมในประเด็นต่างๆ ได้ แม้ว่าจะมีแนวคิด แนวทาง และหลักนโยบายที่แตกต่างกัน (March separately, strike together)
การรวมกำลังแนวร่วมกับการสร้างพรรค
ในสถานการณ์ปัจจุบัน แม้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในฝรั่งเศสยังคงตกเป็นฝ่ายตั้งรับทั้งในการต่อสู้ทางเศรษฐกิจสังคมและในการเลือกตั้ง แต่ผลจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลฝ่ายขวาก็ก่อให้เกิดกลุ่มฝ่ายค้านมากมายและหลากหลาย จึงเป็นที่ชัดเจนอย่างไม่ต้องสงสัยว่าฝ่ายซ้ายจะต้องผนึกกำลังด้วยกันเพื่อขับเคลื่อนพลังของตนไปเอาชนะใจมวลชนที่ยังลังเลอยู่กับบรรดาพรรคที่เลวน้อยกว่าอย่างพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสหรือพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสเข้าชิงชัยการเลือกตั้งเมื่อมีโอกาสและนำเสนอทางออก เค้าโครงการ หรือหลักนโยบายของตนในการเมืองระดับชาติ ด้วยภารกิจเหล่านี้ แนวทางรวมกำลังแนวร่วม (United front policy) เป็นยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่สำคัญยิ่ง
หากสรุปจากประสบการณ์ การต่อสู้ของฝ่ายซ้ายในศตวรรษที่ผ่านมา แนวทางนี้มีเป้าหมายเพื่อเคลื่อนไหวให้มวลชนคนงานยอมรับนับถือในแนวทางเปลี่ยนแปลงสังคมทุนนิยมโดยมียุทธศาสตร์ 2 ประการ คือ
ประการแรก เอาชนะความแตกแยกและการแบ่งแยกในหมู่มวลชนและคนงานไปตามความคิดความเชื่อทางการเมืองของกลุ่มตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่พวกเขาถูกโจมตีโดยนายทุนและรัฐบาลปีกขวาเพื่ออาศัยกำลังสามัคคีของมวลชนคนงานเหล่านี้ไปดำเนินการงานที่ยิ่งใหญ่ต่อไป
ประการที่สอง เอาชนะมวลชนและคนงานบางส่วนที่ยังคงเดินตามแนวทางปฏิรูป นิยมรัฐสภา นิยมการเลือกตั้ง ให้หันเหออกจากอิทธิพลเหล่านี้ และมาร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมทุนนิยม
แต่จะบรรลุยุทธศาสตร์ทั้งสองนี้ได้ ก็ต้องอาศัยยุทธวิธีสร้างแนวร่วมอย่างกว้างขวาง ซึ่งในหลายกรณีความสำเร็จของการเคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆ นั้น ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำที่มีแนวทางปฏิรูปกลุ่มต่างๆ เช่น การนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องการปรับปรุงค่าจ้างบางครั้งต้องอาศัยนักการเมืองของพรรคฝ่ายค้านหรือข้าราชการฝ่ายปฏิรูปเข้าร่วม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การอาศัยแนวร่วมในทางยุทธวิธีนี้จะต้องไม่หันเหออกจากหรือไม่ละทิ้งยุทธศาสตร์ดังกล่าวไป นั่นคือ พร้อมๆ กับการสร้างแนวร่วมจำต้องให้มวลชนคนงานได้เห็นถึงข้อจำกัดของแนวร่วมเหล่านี้ และเรียนรู้ที่จะเป็นตัวของตัวเองโดยแตกหักกับมายาคติที่หวังพึ่งพิงนักการเมือง การเลือกตั้ง การปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไป การร่วมมือและประนีประนอมทางชนชั้น เพื่อตัดตรงไปสู่การปฏิวัติสังคมนิยมในห้วงเวลาชี้ขาด โดยรูปแบบการรวมกำลังแนวร่วมที่ก้าวหน้าที่สุดก็คือ การจัดตั้งตนเองของมวลชนคนงาน (Self-organization) อย่างกว้างขวางทุกระดับ มีระบบการเลือกตั้งตัวแทนขององค์กรอย่างเป็นประชาธิปไตย และมีระบบการถอดถอนตัวแทนได้ตลอดเวลา ในประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่ผ่านมา องค์กรแบบนี้ได้แก่ สภาคนงาน (workers’ councils) ซึ่งมองในทางการเมืองแล้ว สิ่งนี้ก็คือ การสถาปนารัฐบาลของตัวแทนพรรคการเมืองและองค์กรต่างๆ ของมวลชนคนงานเพื่อแทนที่รัฐทุนนิยมนั่นเอง
ความหมายของฝ่ายซ้ายในศตวรรษที่ 21
ถ้าหากยุทธศาสตร์นี้ไม่บรรลุ อย่างมากที่สุดที่เราจะได้รับก็คือ ชัยชนะบางส่วนในเชิงตั้งรับ ซึ่งในหลายกรณีก็เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่ง เช่น กรณีรัฐสวัสดิการในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้น กระนั้นปัญหาของยุคสมัยก็ยังคงดำรงอยู่และรอคอยให้แก้ไข นั่นคือ ทำอย่างไรจึงจะยกระดับจิตสำนึกของมวลชนคนงานไปสู่การต่อสู้เพื่ออำนาจของพวกเขาอย่างแท้จริง?
ความละเอียดอ่อนอยู่ตรงช่วงเปลี่ยนผ่านจากการสร้างพรรคและสร้างกำลังแนวร่วมไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลของคนงาน การสะสมชัยชนะจำเป็นต้องรวมกำลังกับแนวร่วม และอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำปฏิรูป โดยที่ยังรักษาความเป็นตัวของตัวเองทางการเมือง ได้แก่ หลักนโยบายไว้ได้อย่างคงเส้นคงวา การคิดหวังเอาเองว่า มวลชนคนงานที่ยังไม่พร้อมจะแตกหักกับแนวทางปฏิรูป-ดอกผลของรัฐสวัสดิการในยุโรป ผู้นำพรรคสังคมนิยมและผู้นำสหภาพแรงงานปีกปฏิรูปจะสามารถลุกขึ้นมาเสนอข้อเรียกร้องเพื่อโค่นทุนนิยมนั้น ย่อมเป็นการคาดคิดที่ติดกับมายาการว่า ปัญหามวลชนคนงานที่แตกแยกทางความคิดและขาดจิตสำนึกทางชนชั้นอย่างแท้จริงนั้นได้รับการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในอีกด้านหนึ่ง การนำพามวลชนคนงานเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในการต่อสู้ของตนเป็นภารกิจทางการเมืองที่ขาดเสียมิได้ของพรรคต่อต้านทุนนิยม เพื่อการนี้ ความเป็นประชาธิปไตยในพรรคเป็นเงื่อนไขชี้ขาดการเรียนรู้อย่างถูกต้องและลึกซึ้ง การรวมศูนย์ทางการเมืองเพื่อเอกภาพของการปฏิบัติกับประชาธิปไตยภายในพรรคจึงเป็นสองด้านของความเป็นพรรคต่อต้านทุนนิยมแบบที่เลนินเคยให้แนวทางและประสบการณ์เอาไว้
อย่างไรก็ตาม ในบริบทและเงื่อนไขของสังคมยุโรป ปัจจุบันที่ประชาธิปไตยแบบนายทุนมีความมั่นคงพอสมควร ประชาธิปไตยรวมศูนย์ที่ LCR นำไปปฏิบัติอยู่นั้น เน้นประชาธิปไตยมากกว่าการรวมศูนย์เมื่อเปรียบเทียบกับบริบทของสังคมที่มีการต่อสู้ทางชนชั้นที่แหลมคมและมีรัฐบาลเผด็จการซึ่งทำให้พรรคของมวลชนคนงานเน้นการรวมศูนย์มากกว่าประชาธิปไตย ดังนั้นภายใน LCR จึงเปิดโอกาสให้ความเห็นที่แตกต่างภายในหมู่สมาชิกดำรงอยู่และถูกนำเสนอออกไป เช่น ในสิ่งพิมพ์ของกลุ่ม ขณะที่สมาชิกทั้งปวงยังคงสนับสนุนการปฏิบัติตามแนวทางที่ได้รับการยอมรับของเสียงข้างมากอย่างเป็นประชาธิปไตย โดยที่ไม่ได้คาดหวังจะให้สมาชิกที่อยู่ในกลุ่มเสียงส่วนน้อยต้องเข้ามานำการทำงานหรือถกเถียงอย่างหนักหน่วงกับสมาชิกเสียงข้างมากที่พวกเขาไม่เห็นด้วย กระนั้น หากปราศจากปฏิบัติการร่วมกันที่มาจากการตัดสินใจอย่างเป็นประชาธิปไตยเสียแล้ว ก็ไม่ถือว่ามีประชาธิปไตยในแบบใดๆ เอาเลย
บทเรียนจากความแตกแยกในหมู่ฝ่ายซ้ายอังกฤษในพรรคต่อต้านทุนนิยมที่เปิดกว้างนาม RESPECT เมื่อกลางปีที่ผ่านมาเตือน LCR ได้ดีว่าสถานการณ์ปัจจุบันไม่ใช่การต่อสู้ภายในพรรคระหว่างปีกปฏิวัติกับปีกปฏิรูปดังที่พรรคคนงานสังคมนิยมอังกฤษ (Socialist Workers Party [Britain]) ยึดถือ จนต้องแตกหักกับผู้นำปีกปฏิรูปและทำให้องค์กรต้องแตกแยกเป็นสองเสี่ยง หากแต่เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้คนที่ปรารถนาจะสู้กับนโยบายทุนนิยมและนโยบายรัดเข็มขัดงบประมาณแผ่นดินของพรรคแรงงาน กับกลุ่มผู้สนับสนุนสิ่งที่พรรคนี้ได้กระทำ ดังนั้นการสามัคคีใคร ไปต่อสู้กับใคร เพื่ออะไร? จึงมักเป็นคำถามง่ายๆ ที่ในหลายกรณีเมื่อตอบผิดพลาดก็สร้างความเสียหายให้กับกระบวนการสร้างพรรคและสร้างกำลังแนวร่วมได้เสมอ
การเป็นฝ่ายซ้ายในศตวรรษที่ 21 จึงอาจไม่ใช่การดำรงตนเป็นกลุ่มปีกซ้ายที่ยึดมั่นอยู่กับหลักนโยบายของตน และใช้มันเป็นเครื่องชี้ถูกชี้ผิดเข้าจัดการผู้อื่น ตรงกันข้ามกลับต้องเปิดใจร่วมเรียนรู้จากสถานการณ์จริงของการต่อสู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างหลักนโยบายและสร้างรูปแบบการจัดตั้งรวมกลุ่มของตนให้เหมาะสมสอดคล้อง แล้วอาศัยเป้าหมายยุทธศาสตร์คือ การเติบโตทางความคิดและจิตสำนึกของมวลชนคนงานอย่างเป็นตัวของตัวเองมาตรวจสอบผลการทำงานของตนอยู่เสมอๆ
ความพ่ายแพ้ของกลุ่มการเมืองปีกซ้ายต่อการชิงชัยในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสเมื่อกลางปี ค.ศ.2007 ทำให้กลุ่มปีกซ้ายปฏิวัติอย่างพรรคสันนิบาตคอมมิวนิสต์ปฏิวัติ (Ligue communiste révolutionnaire : LCR) สรุปบทเรียนสำคัญว่าจะต้องสร้างการรวมตัวของพันธมิตรที่ต่อต้านทุนนิยมอย่างกว้างขวางเพื่อนำมวลชนเข้าต่อสู้กับรัฐบาลของประธานาธิบดีซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) ที่ชนะการเลือกตั้ง
ถัดมาในปลายปีเดียวกัน เกิดการนัดหยุดงานครั้งสำคัญที่เขย่ารัฐบาลซาร์โกซีจนถอยร่นไปพร้อมกับนโยบายเสรีนิยมที่รัฐบาลพยายามจะผลักดัน จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2008 พรรค LCR เรียกร้องการรวมตัวจัดตั้งพรรคต่อต้านทุนนิยมขึ้นเพื่อรวบรวมกำลังผู้ต่อต้านรัฐบาลซาร์โกซีเข้าไว้ด้วยกัน ก้าวสำคัญนี้ทำให้ประเด็นการสร้างพรรคและนโยบายการรวมกำลังแนวร่วมเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้สำหรับขบวนการภาคประชาชนของสังคมไทยที่ต้องเผชิญกับการกลับมาของพรรคไทยรักไทยในรูปการจัดตั้งใหม่เป็นพรรคพลังประชาชนที่ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา รัฐบาลสมัครที่เป็นนอมินีของอดีตนายกฯ ทักษิณและอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยอยู่ในขณะนี้
สถานการณ์สร้างพรรค
บทเรียนจากความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งของพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสชี้ให้ LCR เห็นว่ามีผู้คนจำนวนมากต่อต้านซาร์โกซีและออกไปใช้สิทธิ์เลือกพรรคที่เลวน้อยกว่าอย่างพรรคสังคมนิยม (Parti socialiste) ทำให้ซาร์โกซีชนะการเลือกตั้งรอบสุดท้ายเหนือพรรคสังคมนิยมด้วยคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 53.06 และยังแสดงให้เห็นแนวโน้มที่การเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลซาร์โกซีกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากรัฐบาลนี้มาพร้อมกับหลักนโยบายของ MEDEF (Mouvement des entreprises de France) องค์การนายจ้างที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส
การเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลซาร์โกซีกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ LCR คาดการณ์ไว้นั้นปรากฏเป็นจริง การนัดหยุดงานเพื่อต่อต้านนโยบายเสรีนิยมใหม่โดยเฉพาะ แผนการตัดทอนบำเหน็จบำนาญของรัฐบาลซาร์โกซีในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 นั้น กล่าวได้ว่ายิ่งใหญ่พอๆ กับเมื่อคราวปี 1995 เลยทีเดียว โดยมีผู้เข้าร่วมสำแดงพลังรวมถึง 7 แสนคน ในการประท้วง 148 แห่งทั่วประเทศ เช่น 70,000 คนที่ปารีส 60,000 คนที่มาร์แซย์ 35,000 คนที่ตูลูส 30,000 คนที่บอร์โดซ์ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวอื่นที่สำคัญ ได้แก่ การนัดหยุดงานที่เขตอุตสาหกรรม Yoplait ภายใต้การนำของสมาพันธ์แรงงานระดับชาติอย่าง CGT (Confédération générale du travail) เพื่อเรียกร้องให้เปิดการเจรจาต่อรองเรื่องค่าจ้างและปัญหาค่าครองชีพ การเดินขบวนประท้วงของนักเรียนและนิสิตนักศึกษาประมาณ 40,000 คน เพื่อสนับสนุนการประท้วงของคนงานรัฐวิสาหกิจและเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายที่จะทำให้สถานศึกษากลายเป็นแหล่งธุรกิจ การเข้าร่วมประท้วงของครูในวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด โอลิวีเย เบซองซีโนต (Olivier Besancenot) ผู้นำของ LCR ประเมินการสำแดงพลังครั้งนี้ว่า เป็นการรวมพลังต่อสู้ที่กดดันอย่างไม่หยุดยั้ง จนกว่ารัฐบาลต้องตอบสนองตามที่ผู้ประท้วงเรียกร้อง เช่นเดียวกับการประท้วงของคนงานรัฐวิสาหกิจในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1995 [1]
สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า มวลชนคนงานฝรั่งเศสยังคงมีพลังต่อต้านนโยบายเสรีนิยมใหม่ของซาร์โกซีและเป็นฐานมวลชนที่ต้องการการจัดตั้งรวมกำลังต่อสู้อย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น ฉะนั้น เพื่อช่วงชิงมวลชนให้ตีตัวออกจากความนิยมในพรรคสังคมนิยมซึ่งเป็นพรรคที่ปลิ้นปล้อนทางการเมืองและฉวยโอกาสเอียง “ซ้าย”และ “ขวา” เพียงเพื่อให้พรรคได้ร่วมรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลทางการเมืองในระบบเลือกตั้งอย่างสำคัญ พร้อมๆ ไปกับการต่อต้านรัฐบาลซาร์โกซีจำเป็นต้องมีพรรคการเมืองที่คอยเกื้อหนุนการเคลื่อนไหวนั้น โดยเป็นพรรคต่อต้านทุนนิยมที่เปิดกว้างและมีหลักนโยบายที่เป็นตัวของตัวเองต่างไปจากพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศส
ขณะเดียวกัน เมื่อเทียบกับบรรดาพรรคปีกซ้ายอื่นๆ นอกจากพรรคสังคมนิยมด้วยกันแล้ว พรรค LCR ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในการเลือกตั้งรอบแรก คือร้อยละ 4.08 ซึ่งสูงกว่าคะแนนของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สนับสนุนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส (Parti communiste français: PCF) ถึงสองเท่า สิ่งนี้สะท้อนการพัฒนาของพรรค LCR ที่มาถึงขั้นตอนสำคัญในการขยายการจัดตั้งองค์กร และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความปั่นป่วนและความแตกต่างทางความคิดของกลุ่มการเมืองปีกซ้ายและกลุ่มต่างๆ ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมภายหลังการเลือกตั้ง อันเรียกร้องการแก้ไขให้กลับมาสู่การรวมกำลังแนวร่วมเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลซาร์โกซีด้วยเค้าโครงการหรือหลักนโยบายที่ต่อต้านทุนนิยม
สิ่งนี้จึงเป็นที่มาของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17 ของ LCR เมื่อวันที่ 24-27 มกราคม 2008 ตัวแทนสมาชิกพรรคจำนวน 313 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อประเมินผลการทำงานของกลุ่มและสถานการณ์ทางการเมือง ประเด็นสำคัญที่ที่ประชุมหารือกันอย่างกว้างขวางก็คือ โครงการจัดตั้งพรรคต่อต้านทุนนิยม โดยแม้จะยังมีประเด็นการประเมินหลายแง่มุม เช่น คำนิยามของ “พรรคต่อต้านทุนนิยม” ขอบเขตการดำเนินงานทางการเมืองที่จำเป็น วิธีการบรรลุถึงสิ่งนี้ การแสวงหากลุ่มการเมืองอื่นที่มีศักยภาพมาเข้าร่วม ระยะเวลาที่จะปฏิบัติให้เกิดผล เป็นต้น สุดท้ายที่ประชุมก็เห็นชอบที่จะดำเนินการจัดตั้งพรรคนี้ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 81.2 ขณะที่มีเสียงค้านร้อยละ 14.8 และงดออกเสียงร้อยละ 4 ของผู้แทนทั้งหมด
สาระสำคัญของเสียงส่วนใหญ่ปรากฏในแถลงการณ์ว่าด้วยพรรคต่อต้านทุนนิยม ซึ่งมีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้คือ พรรคนี้จะเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวรวมตัวของมวลชนคนงานเพื่อต่อสู้เปลี่ยนแปลงดุลอำนาจ โดยช่วยตระเตรียมการอภิวัฒน์สังคมอย่างถึงรากถึงโคน นั่นคือ ยุติระบบทุนนิยมกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในปัจจัยการผลิต และการทำลายโลกและธรรมชาติ แล้วแทนที่ด้วยระบบสังคมที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้ ขจัดการกดขี่ขูดรีดทุกรูปแบบที่ตั้งอยู่บนเงื่อนไขได้เปรียบเชิงชนชั้น เพศ หรือเผ่าพันธุ์ สังคมที่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้หยุดอยู่แค่การเลือกตั้ง หากแต่ทุกคนต้องสามารถเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ
ยิ่งไปกว่านั้น พรรคนี้ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับระบบทุนนิยม โดยเป็นพรรคอิสระเป็นตัวของตัวเองที่แตกหักกับทุนนิยมและสถาบันการปกครองของระบบนี้ และสนับสนุนให้ประชาชนนำการเคลื่อนไหวของตนเองในฐานะผู้ที่จะเข้าไปบริหารสังคมและเศรษฐกิจ นั่นคือ การสร้างพรรคเพื่อช่วยก่อให้เกิดแนวทาง “สังคมนิยมของศตวรรษที่ 21″
พรรคนี้จะสามัคคีผู้คนทุกคนที่ต่อต้านทุนนิยมมาเข้าร่วม โดยเชิญชวนมวลชนไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงาน โรงเรียน ชุมชน องค์กรระดับภูมิภาคและระดับชาติ มาจัดตั้งเป็นคณะกรรมการปฏิบัติการเพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างพรรค เช่น การร่างธรรมนูญของพรรค การร่างหลักนโยบาย การจัดประชุมระดับท้องถิ่นระดับชาติ และระดับประเทศ เพื่อเตรียมการจัดประชุมใหญ่ก่อตั้งพรรคต่อไป
ทิศทางการสร้างพรรคต่อต้านทุนนิยมดังกล่าวเริ่มต้นจากการเปิดกว้างรับผู้คนร่วมสร้างพรรคที่หลากหลาย บนเป้าหมายเดียวกันคือการต่อต้านรัฐบาลซาร์โกซี และนำพามวลชนไปร่วมเรียนรู้ถึงปัญหาและทางออกท่ามกลางการเคลื่อนไหวทางสังคมในสถานการณ์ต่างๆ แล้วยกระดับไปสู่ความรู้แจ้งเห็นจริงในความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงระบบทุนนิยมเพื่อรักษาโลกนี้ไว้ จากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย มีขั้นตอนการพัฒนาของพรรคและการเคลื่อนไหวทางสังคมตรงประเด็นสำคัญที่ว่า พรรคและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมจักต้องสะสมชัยชนะ และได้รับการยอมรับนับถือของมวลชนอย่างกว้างขวางในหลักนโยบายเปลี่ยนแปลงสังคม โดยอาศัยแนวร่วมกลุ่มต่างๆ อย่างหลากหลายที่ร่วมกันต่อต้านทุนนิยมในประเด็นต่างๆ ได้ แม้ว่าจะมีแนวคิด แนวทาง และหลักนโยบายที่แตกต่างกัน (March separately, strike together)
การรวมกำลังแนวร่วมกับการสร้างพรรค
ในสถานการณ์ปัจจุบัน แม้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในฝรั่งเศสยังคงตกเป็นฝ่ายตั้งรับทั้งในการต่อสู้ทางเศรษฐกิจสังคมและในการเลือกตั้ง แต่ผลจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลฝ่ายขวาก็ก่อให้เกิดกลุ่มฝ่ายค้านมากมายและหลากหลาย จึงเป็นที่ชัดเจนอย่างไม่ต้องสงสัยว่าฝ่ายซ้ายจะต้องผนึกกำลังด้วยกันเพื่อขับเคลื่อนพลังของตนไปเอาชนะใจมวลชนที่ยังลังเลอยู่กับบรรดาพรรคที่เลวน้อยกว่าอย่างพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสหรือพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสเข้าชิงชัยการเลือกตั้งเมื่อมีโอกาสและนำเสนอทางออก เค้าโครงการ หรือหลักนโยบายของตนในการเมืองระดับชาติ ด้วยภารกิจเหล่านี้ แนวทางรวมกำลังแนวร่วม (United front policy) เป็นยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่สำคัญยิ่ง
หากสรุปจากประสบการณ์ การต่อสู้ของฝ่ายซ้ายในศตวรรษที่ผ่านมา แนวทางนี้มีเป้าหมายเพื่อเคลื่อนไหวให้มวลชนคนงานยอมรับนับถือในแนวทางเปลี่ยนแปลงสังคมทุนนิยมโดยมียุทธศาสตร์ 2 ประการ คือ
ประการแรก เอาชนะความแตกแยกและการแบ่งแยกในหมู่มวลชนและคนงานไปตามความคิดความเชื่อทางการเมืองของกลุ่มตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วงเวลาที่พวกเขาถูกโจมตีโดยนายทุนและรัฐบาลปีกขวาเพื่ออาศัยกำลังสามัคคีของมวลชนคนงานเหล่านี้ไปดำเนินการงานที่ยิ่งใหญ่ต่อไป
ประการที่สอง เอาชนะมวลชนและคนงานบางส่วนที่ยังคงเดินตามแนวทางปฏิรูป นิยมรัฐสภา นิยมการเลือกตั้ง ให้หันเหออกจากอิทธิพลเหล่านี้ และมาร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมทุนนิยม
แต่จะบรรลุยุทธศาสตร์ทั้งสองนี้ได้ ก็ต้องอาศัยยุทธวิธีสร้างแนวร่วมอย่างกว้างขวาง ซึ่งในหลายกรณีความสำเร็จของการเคลื่อนไหวในประเด็นต่างๆ นั้น ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำที่มีแนวทางปฏิรูปกลุ่มต่างๆ เช่น การนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องการปรับปรุงค่าจ้างบางครั้งต้องอาศัยนักการเมืองของพรรคฝ่ายค้านหรือข้าราชการฝ่ายปฏิรูปเข้าร่วม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การอาศัยแนวร่วมในทางยุทธวิธีนี้จะต้องไม่หันเหออกจากหรือไม่ละทิ้งยุทธศาสตร์ดังกล่าวไป นั่นคือ พร้อมๆ กับการสร้างแนวร่วมจำต้องให้มวลชนคนงานได้เห็นถึงข้อจำกัดของแนวร่วมเหล่านี้ และเรียนรู้ที่จะเป็นตัวของตัวเองโดยแตกหักกับมายาคติที่หวังพึ่งพิงนักการเมือง การเลือกตั้ง การปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไป การร่วมมือและประนีประนอมทางชนชั้น เพื่อตัดตรงไปสู่การปฏิวัติสังคมนิยมในห้วงเวลาชี้ขาด โดยรูปแบบการรวมกำลังแนวร่วมที่ก้าวหน้าที่สุดก็คือ การจัดตั้งตนเองของมวลชนคนงาน (Self-organization) อย่างกว้างขวางทุกระดับ มีระบบการเลือกตั้งตัวแทนขององค์กรอย่างเป็นประชาธิปไตย และมีระบบการถอดถอนตัวแทนได้ตลอดเวลา ในประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่ผ่านมา องค์กรแบบนี้ได้แก่ สภาคนงาน (workers’ councils) ซึ่งมองในทางการเมืองแล้ว สิ่งนี้ก็คือ การสถาปนารัฐบาลของตัวแทนพรรคการเมืองและองค์กรต่างๆ ของมวลชนคนงานเพื่อแทนที่รัฐทุนนิยมนั่นเอง
ความหมายของฝ่ายซ้ายในศตวรรษที่ 21
ถ้าหากยุทธศาสตร์นี้ไม่บรรลุ อย่างมากที่สุดที่เราจะได้รับก็คือ ชัยชนะบางส่วนในเชิงตั้งรับ ซึ่งในหลายกรณีก็เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่ง เช่น กรณีรัฐสวัสดิการในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้น กระนั้นปัญหาของยุคสมัยก็ยังคงดำรงอยู่และรอคอยให้แก้ไข นั่นคือ ทำอย่างไรจึงจะยกระดับจิตสำนึกของมวลชนคนงานไปสู่การต่อสู้เพื่ออำนาจของพวกเขาอย่างแท้จริง?
ความละเอียดอ่อนอยู่ตรงช่วงเปลี่ยนผ่านจากการสร้างพรรคและสร้างกำลังแนวร่วมไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลของคนงาน การสะสมชัยชนะจำเป็นต้องรวมกำลังกับแนวร่วม และอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้นำปฏิรูป โดยที่ยังรักษาความเป็นตัวของตัวเองทางการเมือง ได้แก่ หลักนโยบายไว้ได้อย่างคงเส้นคงวา การคิดหวังเอาเองว่า มวลชนคนงานที่ยังไม่พร้อมจะแตกหักกับแนวทางปฏิรูป-ดอกผลของรัฐสวัสดิการในยุโรป ผู้นำพรรคสังคมนิยมและผู้นำสหภาพแรงงานปีกปฏิรูปจะสามารถลุกขึ้นมาเสนอข้อเรียกร้องเพื่อโค่นทุนนิยมนั้น ย่อมเป็นการคาดคิดที่ติดกับมายาการว่า ปัญหามวลชนคนงานที่แตกแยกทางความคิดและขาดจิตสำนึกทางชนชั้นอย่างแท้จริงนั้นได้รับการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในอีกด้านหนึ่ง การนำพามวลชนคนงานเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในการต่อสู้ของตนเป็นภารกิจทางการเมืองที่ขาดเสียมิได้ของพรรคต่อต้านทุนนิยม เพื่อการนี้ ความเป็นประชาธิปไตยในพรรคเป็นเงื่อนไขชี้ขาดการเรียนรู้อย่างถูกต้องและลึกซึ้ง การรวมศูนย์ทางการเมืองเพื่อเอกภาพของการปฏิบัติกับประชาธิปไตยภายในพรรคจึงเป็นสองด้านของความเป็นพรรคต่อต้านทุนนิยมแบบที่เลนินเคยให้แนวทางและประสบการณ์เอาไว้
อย่างไรก็ตาม ในบริบทและเงื่อนไขของสังคมยุโรป ปัจจุบันที่ประชาธิปไตยแบบนายทุนมีความมั่นคงพอสมควร ประชาธิปไตยรวมศูนย์ที่ LCR นำไปปฏิบัติอยู่นั้น เน้นประชาธิปไตยมากกว่าการรวมศูนย์เมื่อเปรียบเทียบกับบริบทของสังคมที่มีการต่อสู้ทางชนชั้นที่แหลมคมและมีรัฐบาลเผด็จการซึ่งทำให้พรรคของมวลชนคนงานเน้นการรวมศูนย์มากกว่าประชาธิปไตย ดังนั้นภายใน LCR จึงเปิดโอกาสให้ความเห็นที่แตกต่างภายในหมู่สมาชิกดำรงอยู่และถูกนำเสนอออกไป เช่น ในสิ่งพิมพ์ของกลุ่ม ขณะที่สมาชิกทั้งปวงยังคงสนับสนุนการปฏิบัติตามแนวทางที่ได้รับการยอมรับของเสียงข้างมากอย่างเป็นประชาธิปไตย โดยที่ไม่ได้คาดหวังจะให้สมาชิกที่อยู่ในกลุ่มเสียงส่วนน้อยต้องเข้ามานำการทำงานหรือถกเถียงอย่างหนักหน่วงกับสมาชิกเสียงข้างมากที่พวกเขาไม่เห็นด้วย กระนั้น หากปราศจากปฏิบัติการร่วมกันที่มาจากการตัดสินใจอย่างเป็นประชาธิปไตยเสียแล้ว ก็ไม่ถือว่ามีประชาธิปไตยในแบบใดๆ เอาเลย
บทเรียนจากความแตกแยกในหมู่ฝ่ายซ้ายอังกฤษในพรรคต่อต้านทุนนิยมที่เปิดกว้างนาม RESPECT เมื่อกลางปีที่ผ่านมาเตือน LCR ได้ดีว่าสถานการณ์ปัจจุบันไม่ใช่การต่อสู้ภายในพรรคระหว่างปีกปฏิวัติกับปีกปฏิรูปดังที่พรรคคนงานสังคมนิยมอังกฤษ (Socialist Workers Party [Britain]) ยึดถือ จนต้องแตกหักกับผู้นำปีกปฏิรูปและทำให้องค์กรต้องแตกแยกเป็นสองเสี่ยง หากแต่เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้คนที่ปรารถนาจะสู้กับนโยบายทุนนิยมและนโยบายรัดเข็มขัดงบประมาณแผ่นดินของพรรคแรงงาน กับกลุ่มผู้สนับสนุนสิ่งที่พรรคนี้ได้กระทำ ดังนั้นการสามัคคีใคร ไปต่อสู้กับใคร เพื่ออะไร? จึงมักเป็นคำถามง่ายๆ ที่ในหลายกรณีเมื่อตอบผิดพลาดก็สร้างความเสียหายให้กับกระบวนการสร้างพรรคและสร้างกำลังแนวร่วมได้เสมอ
การเป็นฝ่ายซ้ายในศตวรรษที่ 21 จึงอาจไม่ใช่การดำรงตนเป็นกลุ่มปีกซ้ายที่ยึดมั่นอยู่กับหลักนโยบายของตน และใช้มันเป็นเครื่องชี้ถูกชี้ผิดเข้าจัดการผู้อื่น ตรงกันข้ามกลับต้องเปิดใจร่วมเรียนรู้จากสถานการณ์จริงของการต่อสู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างหลักนโยบายและสร้างรูปแบบการจัดตั้งรวมกลุ่มของตนให้เหมาะสมสอดคล้อง แล้วอาศัยเป้าหมายยุทธศาสตร์คือ การเติบโตทางความคิดและจิตสำนึกของมวลชนคนงานอย่างเป็นตัวของตัวเองมาตรวจสอบผลการทำงานของตนอยู่เสมอๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น